รู้จักค่า Reflect Out ในการเลือกใช้กระจกอาคาร ให้ผ่านเกณฑ์ BEC

เมื่อพูดถึงการเลือกใช้กระจกสำหรับอาคาร นอกจากความสวยงามแล้ว ปัจจัยด้านพลังงานนับเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคที่การประหยัดพลังงานและการออกแบบอาคารให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกลายเป็นมาตรฐานสำคัญในด้านการออกแบบก่อสร้าง
หนึ่งในค่าทางเทคนิคที่มีบทบาทในการกำหนดคุณสมบัติของกระจกอาคารให้สอดคล้องกับ มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย (Building Energy Code: BEC) ก็คือ ค่า Reflect Out ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการสะท้อนความร้อนและแสงจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร บทความนี้จะพาไปรู้จักกับค่า Reflect Out และแนวทางในการเลือกใช้กระจกสำหรับอาคารที่เหมาะสมตามเกณฑ์ BEC เพื่อช่วยให้การออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Reflect Out คืออะไร?
Reflect Out คือ ค่าที่บ่งบอกถึง ความสามารถของกระจกในการสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ออกไปสู่ภายนอก โดยค่าดังกล่าวมักแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ (%Reflect Out) หากกระจกมีค่า Reflect Out สูง ก็ยิ่งเกิดแสงสะท้อนรบกวนพื้นที่บริเวณใกล้เคียง ในทางกลับกันสำหรับ วัสดุกระจก กระจกที่มีค่า Reflect Out ต่ำ เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบกับกระจก จะไม่ทำให้เกิดแสงสะท้อนไปรบกวนพื้นที่บริเวณใกล้เคียง และยังเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของ BEC โดยปกติค่า Reflect Out ไม่ควรเกิน 20% สำหรับอาคารทั่วไป
ค่า Reflect Out นับเป็นปัจจัยสำคัญที่นักออกแบบและสถาปนิกควรให้ความสนใจ เนื่องจากมีผลโดยตรงต่อ ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนของอาคาร (Overall Thermal Transfer Value: OTTV) และเป็นตัวแปรที่ใช้พิจารณาร่วมกับค่าอื่น ๆ เช่น ค่าการส่งผ่านแสง (Visible Light Transmittance – VLT) และ ค่าการแผ่รังสีความร้อน (Solar Heat Gain Coefficient – SHGC) เพื่อให้แน่ใจว่ากระจกที่เลือกใช้สามารถช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ทำให้เกิดแสงสะท้อนรบกวนพื้นที่โดยรอบในบริเวณใกล้เคียง
ค่า Reflect Out ที่เหมาะสมตามเกณฑ์ BEC
มาตรฐาน BEC (Building Energy Code) หรือมาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร ที่ถูกกำหนดโดยกระทรวงพลังงานของประเทศไทย ได้มีการกำหนดให้การออกแบบอาคารที่ใช้กระจกต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ช่วยลดการใช้พลังงาน และต้องเป็นมิตรต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งค่า Reflect Out เป็นหนึ่งในค่าที่ต้องได้รับการพิจารณา โดยทั่วไป กระจกที่มีค่า Reflect Out สูง แม้จะสามารถลดปริมาณความร้อนที่เข้าสู่อาคารได้ แต่ค่าการสะท้อนแสงของกระจกที่มากเกินไปจะทำให้รบกวนสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนโดยรอบได้ ซึ่งทาง BEC จึงมีการกำหนดให้ค่า Reflect Out ที่เหมาะสมควรไม่ควรเกิน 20% สำหรับอาคารทั่วไป โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของอาคารและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ก่อสร้าง จึงทำให้ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัสดุกระจกที่สามารถช่วยลดการสะท้อนแสงที่ต่ำลง แต่สามารถช่วยลดการกระจายความร้อนเข้าสู่พื้นที่ด้านในอาคารได้มากยิ่งขึ้น
แนวทางการเลือกใช้กระจกที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน BEC ให้เหมาะสมกับอาคาร
ในการเลือกใช้กระจกที่เหมาะสมสำหรับอาคาร นักออกแบบและสถาปนิกควรพิจารณาหลายปัจจัยร่วมกัน ไม่ใช่เพียงแค่ค่า Reflect Out เท่านั้น แต่จำเป็นต้องดูค่าพลังงานอื่น ๆ ด้วย โดยแนวทางที่ควรพิจารณามีดังนี้
- คำนึงถึงค่า SHGC และ VLT ร่วมกัน
สำหรับอาคารที่ต้องการทั้งความรู้สึกเย็นสบาย แต่ยังสามารถเปิดรับแสงสว่างได้ดี จำเป็นต้องพิจารณาถึงค่า SHGC และ VLT โดยทั้งสองค่านี้มีผลโดยตรงต่อความร้อนและแสงสว่างที่เข้าสู่อาคาร ซึ่งการมีค่า SHGC และค่า VLT ที่เหมาะสม จะช่วยลดการถ่ายเทความร้อนโดยที่ยังคงให้แสงผ่านเข้ามาได้อย่างเพียงพอ
- ค่า SHGC (Solar Heat Gain Coefficient) ที่เหมาะสม
ค่า SHGC (Solar Heat Gain Coefficient) คือ ค่าสัมประสิทธิ์การรับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ยิ่งมีค่าต่ำ ก็จะยิ่งช่วยทำให้กระจกสามารถลดการส่งผ่านความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ดีขึ้นโดยที่ความร้อนกระจายตัวเข้าสู่ด้านในอาคารได้น้อยมาก และทำให้บรรยากาศภายในอาคารเย็นสบาย ซึ่งค่า SHGC ค่าที่เหมาะสมควรมีค่าน้อยกว่า <0.55 ตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด
- ค่า VLT (Visible Light Transmittance) ที่เหมาะสม
สำหรับค่า VLT (Visible Light Transmittance) คือ ค่าการส่งผ่านแสงที่ตามองเห็นได้ ยิ่งมีค่า VLT สูง ยิ่งทำให้พื้นที่ด้านในสว่าง เพราจะทำให้สามารถเปิดรับแสงสว่างภายนอกให้ส่องผ่านเข้ามาได้มาก ทำให้ภายในอาคารมีแสงธรรมชาติส่องผ่านได้มากขึ้น
- สำหรับบ้านพักอาศัย มีค่าแสงส่องผ่าน (VLT) ที่เหมาะสมอยู่ที่ 30% – 70% ขึ้นอยู่กับการใช้งาน หากต้องการเน้นช่วยกันความร้อน สามารถเลือกกระจกที่มีค่า VLT อยู่ที่ 30% ได้ เพราะหากมีค่าที่ต่ำกว่านี้ จะทำให้ต้องเปิดไฟส่องสว่างมากขึ้น และจะทำให้เปลืองการใช้พลังงานและค่าใช้จ่าย
- สำหรับกระจกที่มีค่า VLT 70% จะเหมาะสำหรับที่ทำงาน ออฟฟิศที่ใช้ระหว่างวัน เพราะสามารถเปิดรับแสงสว่างจากธรรมชาติได้มาก ทำให้บรรยากาศภายในโปร่งสบาย และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเปิดไฟส่องสว่าง
- สำหรับที่พักอาศัยประเภทคอนโด ควรมีค่าแสงส่องผ่าน VLT 40%-60% เพื่อความโปร่งสบายในการอยู่อาศัย
เช่นเดียวกับ กระจกประหยัดพลังงาน Kool Max ที่มีสเปคตามเกณฑ์ BEC ด้วยคุณสมบัติที่พร้อมตอบรับเทรนด์ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยกระจกประสิทธิภาพสูง ที่ให้ค่าความร้อนผ่านเข้าในอาคารได้น้อยมาก แต่สามารถเปิดรับแสงสว่างให้ส่องผ่านได้มาก อีกทั้งยังมีค่า Reflect Out ที่ไม่ทำให้เกิดแสงสะท้อนรบกวนพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน BEC ที่กระทรวงพลังงานกำหนด
ค่า Reflect Out เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการเลือกใช้กระจกอาคาร เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานของ BEC และช่วยให้การออกแบบอาคารมีประสิทธิภาพในการควบคุมความร้อน ลดภาระของเครื่องปรับอากาศ และเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัย การเลือกใช้กระจกที่เหมาะสม ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน แต่ยังช่วยเสริมภาพลักษณ์อาคารให้ดูทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นักออกแบบและสถาปนิกจึงควรให้ความสำคัญกับค่าทางเทคนิคเหล่านี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอาคารที่ออกแบบจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในระยะยาว