จำหน่ายกระจกแปรรูปครบวงจร | TYK Glass | ตอยงเกียรติกลาส

Low-e VS Reflective


Low-e VS Reflective เทียบกันชัดๆ เลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน

คุณภาพของงานออกแบบจะดีหรือไม่ดี สามารถประหยัดพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง ของการก่อสร้างเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับวิธีการเลือกใช้วัสดุด้วย เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติที่เหมาะสม และตอบโจทย์มากที่สุด อย่างชนิดกระจก Low-e และ Reflective ก็ถูกถามเข้ามากันมากมายมันต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน ตัวไหนช่วยสะท้อนความร้อนได้มากกว่า บทความนี้เราจะเปรียบเทียบให้เห็นข้อดี และ ข้อสังเกตของกระจกทั้งสองชนิดเพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดขึ้น

กระจกประหยัดพลังงาน

ปัจจุบันกระจก Low-e และ Reflective เป็นวัสดุที่แวดวงการออกแบบ รับเหมาก่อสร้าง ได้รับการยอมรับ ในการเลือกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลต่อการใช้พลังงานภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นการสะท้อนความร้อน การส่งผ่านความร้อนจากแสงอาทิตย์เข้าสู่ในอาคาร ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมาก ที่การเลือกใช้งานให้เหมาะกับสถานที่จะช่วยลดการใช้พลังงานในอาคารได้ดี โดยเฉพาะลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ของระบบปรับอากาศ


Reflective และ กระจก low-e แล้วมันต่างกันอย่างไร ?

กระจกประหยัดหลังงาน

ทั้งกระจก Reflective และ กระจก low-eเป็นรูปแบบของกระจกโค้ทติ้ง โดยผ่านเทคนิคการใช้หลักการเคลือบสารโลหะไว้ที่ผิวกระจกเหมือนๆกัน แต่ความแตกต่างกันตรงที่สารที่เคลือบจะไม่เหมือนกัน ในกรณีที่เป็นกระจกสะท้อนความร้อน Reflectiveจะถูกเคลือบผิวด้วยโลหะออกไซต์ที่ให้ค่าการสะท้อนแสงสูง แต่ถ้าเป็นกระจก low-e จะถูกเคลือบด้วยสารเงิน (Silver / Ag) เพื่อให้ได้ค่าการคายรังสีอยู่ในระดับที่ต่ำมาก และเนื่องจากเหตุผล นี้เอง ที่ทำให้กระจก low-e มีความร้อนเข้ามาได้น้อยลง และยอมให้แสงสว่างส่องผ่านได้มาก ดูเป็นธรรมชาติ สบายตามากกว่ากระจก Reflective


กระจก Reflective : คุณสมบัติ

กระจก Reflective จะช่วยลดความร้อน ควบคุมปริมาณแสงสว่าง รวมถึงยังมีส่วนช่วยประหยัดพลังงาน พร้อมสร้างความสมดุลระหว่างแสงสว่างที่ส่องผ่านเข้าภายในอาคารกับแสงที่สะท้อนสู่ภายนอก จึงช่วยลดความสว่างจ้าของแสง ก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งความรื่นรมย์ และสบายตาแก่ผู้อยู่อาศัย มีหลากหลายสีให้เลือกตามรสนิยม หรือแล้วแต่ความเหมาะสมกับงานออกแบบของผู้ใช้งาน อาทิเช่น สีเงา สีชา สีฟ้า สีเขียว

กระจกReflective

การนำไปใช้งาน

กระจกประเภทนี้ เหมาะกับผนังภายนอกอาคาร เช่นอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ แต่จะไม่เหมาะสำหรับการใช้ในที่พักอาศัย เนื่องจากในช่วงเวลายามค่ำคืน หากมีผู้อยู่อาศัยอยู่ด้านใน จะเกิดการเห็นเงาสะท้อนบนกระจก อาจจะส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกเมี่อยล้า ไม่สบายตาเวลามองเห็น แต่ถ้าเป็นอาคารสำนักงาน ที่ใช้งานบ่อยๆในช่วงเวลากลางวัน จุดนี้จะช่วยทำให้รู้สึกสบายตา มากกว่านั้นเอง


กระจก Low-e : คุณสมบัติ

กระจกชนิดนี้ ไม่ใช่แค่ป้องกันความร้อนเพียงอย่างเดียว แต่จะครอบคลุมในเรื่องการประหยัดพลังงานไปด้วย เพื่อคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทรัพยากร โดยเน้นการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด Low-e glass วัสดุมีประสิทธิภาพ ในการถ่ายเทความร้อน ลดการใช้พลังงาน ขณะเดียวกันยังคงยอมให้แสงผ่านได้ ส่วนในแง่ของการดีไซน์ ยังมีความสวยงาม ทันสมัย โปร่งโล่งสบาย และเป็นธรรมชาติ

กระจกLow-e

การนำไปใช้งาน

เหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็นกระจกภายนอกอาคาร เพื่อการประหยัดพลังงาน


แปลว่ากระจก low-ต้องดีกว่า และน่าใช้งานกว่า Reflective?

กระจกประหยัดหลังงาน

จะดีกว่าทั้งหมดก็คงจะเป็นไปไม่ได้ จากที่กล่าวมาข้างต้น กระจกทั้ง 2 ชนิด มีการเคลือบสารที่ต่างกัน จึงส่งผลต่อข้อจำกัดในการใช้งาน กระจก Low-E จะใช้วิธีการเคลือบสารเงินเป็นสารเคลือบหลัก เพื่อสะท้อนพลังงานความร้อนออกไป ส่วนกระจก Reflective จะใช้เป็นสารเคลือบโลหะ ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาวะอากาศ ในขณะที่กระจก Reflective ส่วนใหญ่จะผลิตแบบฮาร์ดโค้ท สามารถใช้งานแบบโชว์ด้านเคลือบไว้ภายนอกได้ โดยสภาวะอากาศภายนอกจะไม่ทำให้สารเคลือบเป็นกระดำกระด่างแบบกระจก Low-E


ปัจจัยที่มีส่วนพิจารณาในการเลือกใช้ ทั้ง Low-E และกระจก Reflective

กระจกประหยัดหลังงาน

1.1) ชนิดของกระจกที่จะใช้

กระจก Low-E จำเป็นต้องนำมาทำลามิเนต หรืออินซูเลทก่อนการใช้งานเสมอ เพื่อให้ด้านเคลือบหลบอยู่ด้านในในขณะที่กระจกรีเฟล็กทีฟสามารถเลือกใช้แผ่นเดี่ยวๆ จะเป็นเทมเปอร์ลามิเนต หรืออินซูเลทก็ได้หมด

2) ชนิดของอาคาร

กระจก Low-E เหมาะในการใช้งานที่ต้องการแสงธรรมชาติเข้ามาภายใน โดยไม่ต้องการให้สะท้อนของแสง เหมาะกับทุกประเภทการใช้งาน เช่น บ้านพักอาศัย โรงแรม-รีสอร์ท อาคารสำนักงาน ควบคู่กับจุดประสงค์ที่เน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน ส่วนกระจก Reflective จะไม่เหมาะกับการใช้ในที่พักอาศัย เพราะช่วงกลางคืนหากมีผู้ใช้งานอยู่ภายใน จะทำให้สามารถเห็นเงาสะท้อนบนกระจกจนเกิดความไม่สบายตา แต่กรณีเป็นการใช้งานช่วงกลางวัน กระจกชนิดนี้จะมีประโยชน์ด้านการกรองแสง ที่ทำให้รู้สึกสบายตา รวมถึงคนภายนอกก็ไม่สามารถมองผ่านเข้ามาได้ จึงเหมาะกับอาคารสำนักงาน หรือออฟฟิศที่เน้นการใช้งานในช่วงกลางวันมากกว่า

3) สี และลุคของกระจก

กระจก Low-E ส่วนใหญ่จะมีค่าการส่องผ่านของแสงที่มากกว่ากระจก Reflective และลุคของสีก็จะดูธรรมชาติ ส่วน กระจก Reflective จะมีความหลายหลายทางด้านสีสันมากกว่า อาทิเช่น สีฟ้า สีเขียวสะท้อนแสง และสีเทา


สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่

• Line | เพิ่มเพื่อน 
• Tel | 02-960-2790
• Official Fanpange | @TykGroup2016
• E-mail | [email protected]

 


แชร์บทความนี้