จำหน่ายกระจกแปรรูปครบวงจร | TYK Glass | ตอยงเกียรติกลาส

Laminated Glass


Laminated Glass กับความความแตกต่างระหว่างฟิล์ม PVB และฟิล์ม SGP

กระจกนิรภัยลามิเนต เชื่อว่าหลายคนก็คงรู้จักกันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นชนิดกระจกยอดนิยม ที่ถูกนำมาใช้กับวงการอุตสาหกรรม และการออกแบบอาคารมากมาย ทั้งยังมีคุณสมบัติที่ให้ความปลอดภัยสูง และยังมีชนิดของฟิล์มให้เลือกใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความแข็งแรงห้เหมาะกับงานที่เฉพาะมากยิ่งขึ้น ทั้งแบบ ฟิล์มPVB และฟิล์ม SGP โดยทั้ง 2 ชนิดนี้ ก็มีข้อแตกต่าง ลักษณะการนำไปใช้ไม่เหมือนกัน วันนี้เราจึงนำข้อสงสัยของทุกคนรวบรวมเอาไว้ในบทความนี้แล้ว

 

Laminated Glass

 

Laminated

กระจกลามิเนต เป็นอีกหนึ่งชนิดกระจกนิรภัย ที่ใช้กระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาประกบกัน จากนั้นนำมาผ่าน กระบวนการ Laminated โดยทำให้ยึดติดกันด้วย ฟิล์ม PVB (Poly Vinyl Brutyal) หรือSGP (Sentry Glass) ทำหน้าที่ยึดเกาะให้กระจกติดกัน ซึ่งให้คุณสมบัติ ที่เมื่อหากเกิดการแตกของตัวกระจก แผ่นฟิล์มจะช่วยยึดเกาะ ไม่ให้เศษกระจกแตกหลุดร่วงลง เราจะเห็นได้เพียงรอยแตก หรือร้าวเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมในการนำมาใช้ กับงานออกแบบที่ต้องการความแข็งแรงทนทานมาก หรือการใช้งานที่ตอบสนองด้านความปลอดภัยที่สูงมากขึ้น วมทั้งยังสามารถเลือกแมทซ์กับชนิดอื่นๆ ได้หลากหลายประเภท


PVB (Poly Vinyl Brutyal)

ฟิล์มกระจก PVB

โดยทั่วไปในบ้านเรา PVB (Polyvinyl Butyral) จะเป็นฟิล์มพื้นฐานสำหรับใช้ทำกระจกลามิเน และได้รับความนิยมที่สุดในท้องตลาด เนื่องจากมีคุณสมบัติ ที่ให้การให้การยึดเกาะกับกระจกสูง มีความยืดหยุ่น มีความใสเป็นเลิศ จึงช่วงสร้างความสวยงามทันสมัยให้กับการนำไปใช้งานได้ ที่สำคัญยังให้ความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพที่ช่วยป้องกันเสียงได้อย่างดีเยี่ยม แถมยังมีส่วนช่วยป้องกันรังสียูวี อีกหนึ่งจุดเด่นเจ้าตัว PVB ยังมีสีให้เลือกอย่างหลากหลายอีกด้วย แต่ PVB จะไม่เหมาะในการใช้กับหน้างานที่โดนน้ำเป็นประจำ เพราะตัวฟิล์มจะอมน้ำ ทำให้กระจกแยกตัวออกจากกัน (Delamination) หากโดนความร้อนเป็นระยะเวลานานๆ

การนำไปใช้งาน

  1. ใช้ตกแต่งภายใน เช่น ฝ้า พื้น ผนังห้อง บานประตู

  2. งานภายนอกอาคาร โดยเฉพาะกระจกที่ ต้องการป้องกันการบุกรุก หรือต้องการ ลดเสียงรบกวน

  3. านราวระเบียงกันตก หลังคา Skylight


SGP (Sentry Glass)

กระจกไร้แสงสะท้อน

ถัดมาเป็นชนิดฟิล์ม SGP (SentryGlasPlus) หรือ INP (Ionoplast) ที่เหนือขั้นอีกระดับ เป็นพิล์มที่ถูกพัฒนา ต่อยอดมาจากฟิล์ม PVB ที่ดูปองท์คิดค้นขึ้นด้วยสูตร Ionoplast ที่ทำให้ฟิล์มมีความแข็งแรงของเนื้อฟิล์ม ที่มีมากกว่า PVB ถึง 100เท่า ทนต่อแรงกระแทก การกระแทก การฉีกขาด เหมาะอย่างยิ่งกับการรับโหลด หรือน้ำหนักมาก ที่สำคัญยังสามารถทนต่อความชื้นได้ ซึ่งฟิล์ม PVB ทำไม่ได้ เรียกได้ว่าเป็นฟิล์มที่สามารถใช้งานในที่เปียกชื้นได้แบบสบายๆ แต่จะมีให้เลือกแค่แบบใส เท่านั้น

การนำไปใช้งาน

  1. จะใช้กับงานออกแบบที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น งานอาคารสูงขนาดใหญ่ งานหลังคา หรือราวระเบียง

  2. งานพื้น เพราะตัวฟิล์ม จะสามารถช่วยรับน้ำหนักของคน หรือสิ่งของหนักๆไว้ได้


 

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่

• Line | เพิ่มเพื่อน 
• Tel | 02-960-2790
• Official Fanpange | @TykGroup2016
• E-mail | [email protected]


แชร์บทความนี้

Whoops, looks like something went wrong.